ผลิตเครื่องดื่ม
เครื่องดื่มฟังก์ชั่น
-มีประสบการณ์ในการผลิต Functional Drink ให้กับสินค้ายี่ห้อต่างๆ
เครื่องดื่มไอโซโทนิก
- ประสบการณ์ในการผลิตเครื่องดื่มไอโซโทนิค ซึ่งโรงงานการผสม/การผสมของเราออกแบบมาเพื่อจัดการข้อมูลจำเพาะของส่วนผสมประเภทต่างๆ เช่น ส่วนผสมบางอย่างที่ต้องใช้เครื่องผสมที่มีเนื้อเชียร์สูงหรือโฮโมจิไนเซอร์
เครื่องดื่มวิตามิน
- มีประสบการณ์ผลิตเครื่องดื่มวิตามินให้กับสินค้ายี่ห้อต่างๆน้ำผลไม้
น้ำผลไม้
- มีประสบการณ์ในการผลิตน้ำผลไม้ให้กับสินค้ายี่ห้อต่างๆ
ผลิตเครื่องดื่ม
เครื่องดื่มกาแฟ
- มีประสบการณ์ในการผลิตเครื่องดื่มกาแฟให้กับสินค้าแบรนด์ต่างๆ
- มีเครื่องสกัดกาแฟที่สามารถสกัดกาแฟเข้มข้นจากเมล็ดกาแฟที่คั่วบดทำให้ได้กลิ่นหอมและรสชาติกาแฟที่ดียิ่งขึ้น
- มีถังผสมเพื่อละลายส่วนผสมแต่ละชนิดที่เป็นวัตถุดิบแบบผงหรือวัตถุดิบที่มาในรูปของเหลว
- เครื่องผสมออกแบบมาเพื่อจัดการส่วนผสมหลากหลายชนิดที่เฉพาะเจาะจง เช่นส่วนผสมบางอย่างที่ต้องใช้ เครื่องปั่นละเอียดหรือเครื่องโฮโมจิไนซ์เซอร์
- สามารถผลิตเครื่องดื่มกาแฟที่ไม่ผสมนมและผสมนม
เครื่องดื่มชา
- มีประสบการณ์ในการผลิตเครื่องดื่มชาให้กับสินค้าแบรนด์ต่างๆ
- มีเครื่องสกัดชาที่สามารถสกัดชาเข้มข้นจากใบชาอบแห้งทำให้ได้กลิ่นหอมและรสชาติชาที่ดียิ่งขึ้น
- มีถังผสมเพื่อละลายส่วนผสมแต่ละชนิดที่เป็นวัตถุดิบแบบผงหรือวัตถุดิบที่มาในรูปของเหลว
- สามารถผลิตเครื่องดื่มชาที่ไม่ผสมนมและผสมนม
เครื่องดื่มโยเกิร์ต/นมเปรี้ยว
- มีประสบการณ์ในการผลิตเครื่องดื่มโยเกิร์ต /นมเปรี้ยว ให้กับสินค้าแบรนด์ต่างๆ
- มีถังผสมเพื่อละลายส่วนผสมแต่ละชนิดที่เป็นวัตถุดิบแบบผงหรือวัตถุดิบที่มาในรูปของเหลว
- เครื่องผสมออกแบบมาเพื่อจัดการส่วนผสมหลากหลายชนิดที่เฉพาะเจาะจง เช่นส่วนผสมบางอย่างที่ต้องใช้ เครื่องปั่นละเอียดหรือเครื่องโฮโมจิไนซ์เซอร์
เครื่องดื่มผสมนม
- มีประสบการณ์ในการผลิตเครื่องดื่มผสมนมให้กับสินค้าแบรนด์ต่างๆ
- ยกตัวอย่างสินค้า อาทิเช่น เครื่องดื่มช็อคโกแลต,เครื่องดื่มนมปรุงแต่ง,เครื่องดื่มนมถั่วเหลือง เป็นต้น
- เครื่องผสมออกแบบมาเพื่อจัดการส่วนผสมหลากหลายชนิดที่เฉพาะเจาะจง เช่นส่วนผสมบางอย่างที่ต้องใช้ เครื่องปั่นละเอียดหรือเครื่องโฮโมจิไนซ์เซอร์
บรรจุภัณฑ์อาหารแบบหลายชั้น (ลามิคอน)
โตโย ไซกัน ประเทศญี่ปุ่น เผยนวัตกรรมขวดแบบหลายชั้นที่มีความสามารถในการป้องกันออกซิเจนเป็นครั้งแรกของโลก ในปี พ.ศ. 2515 เรียกว่า Lamicon โดยใช้วัสดุ EVOH และ Polyolefin ปัจจุบัน โตโย ไซกัน (ประเทศไทย) นำเทคโนโลยีของบริษัทแม่จากประเทศญี่ปุ่นมาใช้งานเพื่อบรรจุสินค้าในตลาดของไทย และ อาเซียน
ขวดลามิคอน สามารถใช้งานได้อย่างกว้างขวาง ทั้งขวดบีบแบบนิ่ม ขวดบีบแบบตั้งตัวเองได้ ขวดที่สามารถเข้าฆ่าเชื้อในรีทอร์ทได้ ตลอดจนแกลลอนที่มีขนาดมากกว่า 1 ลิตรพร้อมหูจับ เพื่อความสะดวกในการหยิบใช้งาน
วัสดุ PP (Polypropylene) ที่มีข้อจำกัดในการป้องกันออกซิเจน เพื่อยืดอายุสินค้าให้นานขึ้นกว่า ขวด PP ที่ใช้วัสดุชนิดเดียว
EVOH จึงถูกเลือกนำมาใช้เป็นชั้นป้องกันออกซิเจน นอกจากนี้ EVOH ยังช่วยรักษากลิ่นของผลิตภัรณฑ์อีกด้วย
ขวด Lamicon สามารถทนอุณหภูมิตั้งแต่ 2 – 120 °C อีกทั้ง ยังทนน้ำ สารละลาย เกลือ กรด และน้ำมัน อีกด้วย
จากความแพร่หลายของเตาไมโครเวฟรวมทั้ง ความนิยมอาหารกึ่งสำเร็จรูป ที่สามารถอุ่นโดยเตาไมโครเวฟ โดย อาหารกึ่งสำเร็จรูป ซึ่งส่วนใหญ่ต้องการอายุการจัดเก็บที่ค่อนข้างยาวนาน
ภาชนะที่เป็น Lamicon จึงเหมาะที่จะบรรจุอาหารกึ่งสำเร็จรูปดังกล่าว นอกจากจะยืดอายุในการจัดเก็บอาหารแล้ว ยังสามารถใช้งานด้วยเตาไมโครเวฟ ได้ด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ขวด Lamicon ยังสามารถเลือกเรซินหลักได้ทั้ง PP-Lamicon, HDPE-Lamicon หรือ LDPE-Lamicon เพื่อการยืดอายุการจัดเก็บ สอดคล้องกับกระบวนการผลิตสินค้า และการใช้งาน
ขวด PET
PET เป็นเรซินที่นิยมใช้มากที่สุดชนิดหนึ่ง โดยขวด PET มีความทนทานต่อการตกกระแทก ความใส ความเงา รวมทั้งง่ายต่อการรีไซเคิล
ขวด PET ของ โตโย ไซกัน มีขนาดตั้งแต่ 100 มล. จนถึง 1 ลิตร ซึ่งนำไปใช้ได้อย่างหลากหลาย เช่นซอสถั่วเหลือง นำมันสลัด และเครื่องปรุงต่างๆ
พร้อมกับฝาที่ออกแบบเป็นพิเศษ เช่นห่วงดึงที่เปิดใช้อย่างง่ายดาย พร้อมความสามารถในการเป็นตัวบ่งชี้การงัดแงะ เพื่อความปลอดภัยของสินค้า
งานสนับสนุนและงานบริการอื่นๆ
การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารทางด้านเทคนิคที่เกี่ยวกับภาชนะบรรจุ
- การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารทางด้านเทคนิคที่เกี่ยวกับภาชนะบรรจุกับหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานทางการศึกษา เช่น อ.ย. ไทย, สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม, กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, กรมวิทยาศาสตร์บริการ, ศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย และมหาวิทยาลัยต่างๆ เป็นต้น
งานวิจัยและวิเคราะห์
วิเคราะห์สิ่งแปลกปลอมที่ปนเปื้อน เพื่อหาสาเหตุของปัญหาและวางแนวทางในการแก้ไขปัญหาและแนวทางการป้องกัน
-วิเคราะห์สิ่งแปลกปลอมที่ปนเปื้อนในเครื่องดื่มและภาชนะบรรจุรวมทั้งในกระบวนการผลิตเพื่อหาสาเหตุของปัญหาและวางแนวทางในการแก้ไขปัญหาและแนวทางการป้องกัน
-วิเคราะห์คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์เพื่อประเมินความเหมาะสมระหว่างผลิตภัณฑ์และภาชนะบรรจุ
-วิจัยและศึกษาสินค้าเป้าหมายที่วางจำหน่ายในท้องตลาดเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ
งานวิจัยและพัฒนาเครื่องดื่ม
ทดลองสูตรเครื่องดื่มและกระบวนการผลิต คิดค้นและพัฒนาสูตรเครื่องดื่มเพื่อนำเสนอให้กับลูกค้า
-ทดลองสูตรเครื่องดื่มและกระบวนการผลิต (การผสม การฆ่าเชื้อแบบ UHT และการบรรจุลงในขวด) ร่วมกับลูกค้าเพื่อผลิตสินค้าต้นแบบก่อนการผลิตในไลน์การผลิตจริง
-คิดค้นและพัฒนาสูตรเครื่องดื่มเพื่อนำเสนอให้กับลูกค้า
-ทำการทดลอง เช่น ขั้นตอนการสกัดชา กาแฟ, คุณสมบัติการละลายของวัตถุดิบ และสภาวะการฆ่าเชื้อที่เหมาะสมเพื่อนำไปปรับปรุงกระบวนการผลิต
งานวิจัยและพัฒนาบรรจุภัณฑ์
วิเคราะห์คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์เพื่อประเมินความเหมาะสม
-วิเคราะห์คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์เพื่อประเมินความเหมาะสมระหว่างผลิตภัณฑ์และภาชนะบรรจุ
-ทดลองบรรจุผลิตภัณฑ์ในภาชนะบรรจุของบริษัทฯและบริษัทในเครือแล้วทำการฆ่าเชื้อในหม้อรีทอท
-การพัฒนาสภาวะในการบรรจุและการฆ่าเชื้อเพื่อให้เกิดการจับคู่ที่ดีระหว่างอาหารและภาชนะบรรจุ
-ศึกษาอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ใหม่ในภาชนะบรรจุของบริษัทฯและบริษัทในเครือ